Temples & Churches
ปี พ.ศ. 2390 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาสัตบุรุษได้ช่วยกันสร้างโบสถ์ขึ้นในที่ดินของฟรังซิสโก ไล้ ชาวจีนที่ศรัทธาในศาสนาคริสต์ เมื่อแรกสร้างโบสถ์เป็นเรือนไม้ หลังคามุงจาก ตั้งชื่อตามสีแดงที่ทาโบสถ์ว่า "วัดศาลาแดง" บางคนก็เรียก "วัดรางยาว" ตามชื่อคลองส่งน้ำของชลประทานซึ่งอยู่บริวเวณวัด ขณะนั้นมีสัตบุรุษประมาณ 200คน เมื่อจำนวนสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้นจึงย้ายโบสถ์มาอยู่ที่ปากคลองดำเนินสะดวกในปี พ.ศ. 2393 ตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดแม่พระบังเกิด" เนื่องจากทำเลดี มีคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญติดต่อกับกรุงเทพฯได้สะดวก
ในปี พ.ศ. 2433 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณพ่อเปาโล ซัลมอล หรือคุณพ่อ เจ้าอาวาส ได้สร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้น โดยได้รับสนับสนุนทั้งจากฝรั่งเศส และคณะมิสซังในปารีสกรุงโรมของประเทศอิตาลี่ รวมทั้งสัตบุรุษในกรุงเทพฯ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 11ก.พ. 2439
ภายในโบสถ์ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมที่น่าชม ข้างโบสถ์เป็นปากคลองดำเนินสะดวก ซึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดชุมชนริมน้ำบางนกแขวกขึ้นข้างโบสถ์นั้นเอง ชุมชนนี้เคยเฟื่องฟูเมื่อหลายสิบปีก่อน ทุกวันนี้ยังเหลือร่องรอยให้เห็น เช่น ห้องแถวร้านค้าปลูกขนานไปกับแม่น้ำ ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าค้าขาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นชมบรรยากาศริมน้ำได้ จะเรียกหาโอเลี้ยง ชาดำเย็นตามร้านที่ยังเปิดขายอยู่ดับกระหายก็เยี่ยม
อาสนวิหารแม่พระบังเกิดเคยเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ นิกายคาทอลิกภาคตะวันตกและภาคใต้ ดังนั้นจึงมีการตกแต่งโบสถ์อย่างวิจิตรสวยงามกว่าโบสถ์ของนิกายอื่นอย่างโปรเตสแตนต์ โบสถ์มีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบกอทิก (Gothic) มียอดแหลมของอาคารพุ่งขึ้นไปบนฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบนี้ ภายในประดับด้วยภาพเขียน กระจกสี (Stained Glass) จากฝรั่งเศส ส่วนใหญ่เป็นภาพนักบุญ เมื่อแสงลอดผ่านกระจกสี จะทำให้ภาพโดดเด่นมีสีสันสวยงาม มีธรรมาสน์เทศน์ อ่างสำหรับใช้ในพิธีรับศีลล้างบาป เชิงเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักของเทพหลายองค์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล
ในปี พ.ศ. 2433 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณพ่อเปาโล ซัลมอล หรือคุณพ่อ เจ้าอาวาส ได้สร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้น โดยได้รับสนับสนุนทั้งจากฝรั่งเศส และคณะมิสซังในปารีสกรุงโรมของประเทศอิตาลี่ รวมทั้งสัตบุรุษในกรุงเทพฯ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 11ก.พ. 2439
ภายในโบสถ์ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมที่น่าชม ข้างโบสถ์เป็นปากคลองดำเนินสะดวก ซึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดชุมชนริมน้ำบางนกแขวกขึ้นข้างโบสถ์นั้นเอง ชุมชนนี้เคยเฟื่องฟูเมื่อหลายสิบปีก่อน ทุกวันนี้ยังเหลือร่องรอยให้เห็น เช่น ห้องแถวร้านค้าปลูกขนานไปกับแม่น้ำ ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าค้าขาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นชมบรรยากาศริมน้ำได้ จะเรียกหาโอเลี้ยง ชาดำเย็นตามร้านที่ยังเปิดขายอยู่ดับกระหายก็เยี่ยม
อาสนวิหารแม่พระบังเกิดเคยเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ นิกายคาทอลิกภาคตะวันตกและภาคใต้ ดังนั้นจึงมีการตกแต่งโบสถ์อย่างวิจิตรสวยงามกว่าโบสถ์ของนิกายอื่นอย่างโปรเตสแตนต์ โบสถ์มีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบกอทิก (Gothic) มียอดแหลมของอาคารพุ่งขึ้นไปบนฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบนี้ ภายในประดับด้วยภาพเขียน กระจกสี (Stained Glass) จากฝรั่งเศส ส่วนใหญ่เป็นภาพนักบุญ เมื่อแสงลอดผ่านกระจกสี จะทำให้ภาพโดดเด่นมีสีสันสวยงาม มีธรรมาสน์เทศน์ อ่างสำหรับใช้ในพิธีรับศีลล้างบาป เชิงเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักของเทพหลายองค์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล
|
โบสถ์คริสต์วัดพระหฤทัย
|
Christian Church of Wat Phra Haruthai Wat Phleng
Located close to the Khwai Om canal, the Gothic-style church is over 100 years old. On Novemver 23, 2003 the celebration was held on the occasion of its 100th anniversary.
Located close to the Khwai Om canal, the Gothic-style church is over 100 years old. On Novemver 23, 2003 the celebration was held on the occasion of its 100th anniversary.
วัดบางกุ้ง
|
|
วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปีพ.ศ. ๒๓๐๘ กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม เรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” กองทัพพม่าซึ่งยกทัพเข้ามาตามลำน้ำแม่กลองและบุกลงมาจนถึงค่ายบางกุ้ง โดยที่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานไว้ได้ค่ายบางกุ้งจึงแตก หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ค่ายบางกุ้งก็ตกอยู่ในสภาพค่ายร้าง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่ายเก่าที่บางกุ้ง จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไปประมาณ ๘ เดือน กองทัพพม่านำโดยเจ้าเมืองทวายยกทัพบกและทัพเรือลงมาล้อมค่ายจีนบางกุ้งไว้ ทหารจีนที่รักษาค่ายบางกุ้งสู้รบอย่างเต็มที่แต่มีกำลังน้อยกว่าเกือบจะเสียค่ายแก่พม่า กรมการเมืองสมุทรสงครามจึงมีหนังสือกราบทูลไปยังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบจึงยกกองทัพมาตีทัพพม่าแตกพ่ายไป และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทัพเรือนำทหารไปออกศึกที่บางแก้ว เมืองราชบุรี ในระหว่างการเดินทางได้หยุดกองทัพพักพลเสวยพระกระยาหารที่วัดกลางค่ายบางกุ้ง
วัดอัมพวันเจติยาราม
|
วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ปากคลองอัมพวาด้านเหนือ เดิมเรียกกันว่า "วัดอัมพวา" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอัมพวันเจติยาราม" มีความหมายว่า "วัดที่มีเจดีย์และมีสวนมะม่วงเป็นที่รื่นรมย์และเกษมสำราญน่าเคารพบูชา" วัดนี้เป็นวัดต้นวงศ์ราชินิกุล โดยสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (สั้น) พระชนนีในสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ (นาก) ทรงบริจาคที่ดินและสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ได้ทรงรวบรวมพระพี่พระน้องรว่มกันสร้างเป็นวัดขึ้นมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหญ่และทรงสร้างพระปรางค์เป็นที่บรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระวิหารและพระที่นั่งทรงธรรมขึ้นอีกด้วย
|
วัดศรัทธาธรรม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางจะเกร็ง ระหว่างทางไปดอนหอยหลอด เป็นวัดที่พระอุโบสถทำจากไม้สักทอง และจุดเด่นของวัดนี้คือ ผนังด้านในฝังมุก ทั้งหลัง สร้างโดยพระครูสมุทรวิสุทธิวงศ์ อดีตเจ้าอาวาส สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 ภายในเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพรามเกียรติ์ หลวงพ่อบ้านแหลม หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เป็นที่สักการะของชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมานมัสการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.00-20.00 น. บริเวณวัดจะมีร้านขายกาละแมรามัญซึ่งได้ชื่อว่าอร่อยที่สุดวางขายอยู่ บริเวณวัดแห่งนี้ กาละแมนี้มีลักษณะพิเศษ คือใช้ใบหมากห่อ เมื่อเวลารับประทาน จะต้องใช้ มีดคมๆเล่มใหญ่หันออกเป็นก้อนๆ ก่อน |
วัดศรัทธาธรรม บางจะเกร็ง สมุทรสงคราม |